วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เรื่อง (ภาษี) น่ารู้... สำหรับสถาปนิก อนุชาตั้งศรีวิริยะกุล (ตัวเล็ก)
ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภาษีสำหรับผู้ประกอบ
วิชาชีพน้องใหม่ หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระเป็นเรื่องสำคัญ
ไม่แพ้การปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามกำหนด
เวลา รวมทั้งมีภาระผูกพันทางกฎหมายและบทลงโทษที่
รุนแรงหากปฏิบัติไม่ถูกต้องทั้งจำและปรับ แต่เรื่องภาษีนี้
กลับเป็นเรื่องที่ ทั้งตัวผู้ประกอบวิชาชีพเองไม่มีความรู้
เพียงพอ และมิได้ให้ความสำคัญในการปฏิบัติหรือศึกษา
ความรู้เพิ่มเติมกันแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างความรู้
ความเข้าใจให้ผู้ประกอบวิชาชีพรุ่นเล็กและนักวิชาชีพอิสระ
วารสาร ACT จึงนำเนื้อหาความรู้ดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสาร
ประกอบการอบรมความรู้สำหรับสถาปนิกเรื่อง การจัดการ
ทางการเงินและความรู้เกี่ยวกับภาษีสำหรับสถาปนิก จัดโดย
สถาบันสถาปนิกสยาม อันเป็นข้อมูลที่ เรียบเรียงจาก
ประสบการณ์การทำงานวิชาชีพตลอด 20 กว่าปีของตัว
ผู้บรรยายคือคุณอนุชาตั้งศรีวิริยะกุล
ภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่เราคาดคิดทั้งในฐานะสถาปนิก
และประชาชนทั่วไปเพราะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยได้กำหนดให้การเสียภาษีอากรเป็น“หน้าที่”ของประชาชน
ซึ่งแปลว่าหากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษตามกฎหมาย
กำหนด หลายครั้งที่ทั้งสถาปนิกที่ปฏิบัติวิชาชีพโดยอิสระ
(Freelance)หรือบริษัทสถาปนิกเองก็ตามถูกเจ้าหน้าที่สรรพกร
“ไล่ต้อน” เอาเบี้ยปรับต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่สถาปนิกหรือบริษัท
สถาปนิกนั้นๆ “ไม่ทราบ” ว่าจำเป็นต้องปฏิบัติ ทั้งที่หลายเรื่อง
ก็เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้“ง่าย”กว่าที่เหล่าสถาปนิกคาดคิด
แต่ก็มีบางกรณีที่เหล่าสถาปนิกซึ่งขาดความรู้ในเรื่องการเงิน
และภาษีถูก“ไล่บี้”ทั้งๆที่ไม่ใช่ประเด็นที่ตนเองปฏิบัติผิดพลาด
แต่ด้วย“ความไม่รู้”จึงไม่กล้าให้คำชี้แจงรวมไปถึงความกังวล
ว่าหากไป“ถกเถียง”กับเจ้าหน้าที่สรรพากรในประเด็นนั้นๆแล้ว
“พลาด” ขึ้นมา ก็อาจจะมีประเด็นอื่นๆ ที่ผิดพลาดตามมาอีก
ก็เป็นได้ ทำให้ตัวสถาปนิกหรือบริษัทสถาปนิกเองเสียสิทธิ์
ในบางเรื่องไป เช่น การรับเงินภาษีคืนเนื่องจากชำระไว้เกิน
เป็นต้น
ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการภาษีสำหรับผู้ประกอบ
วิชาชีพน้องใหม่ หรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระเป็นเรื่องสำคัญ
ไม่แพ้การปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามกำหนด
เวลา รวมทั้งมีภาระผูกพันทางกฎหมายและบทลงโทษที่
รุนแรงหากปฏิบัติไม่ถูกต้องทั้งจำและปรับ แต่เรื่องภาษีนี้
กลับเป็นเรื่องที่ ทั้งตัวผู้ประกอบวิชาชีพเองไม่มีความรู้
เพียงพอ และมิได้ให้ความสำคัญในการปฏิบัติหรือศึกษา
ความรู้เพิ่มเติมกันแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างความรู้
ความเข้าใจให้ผู้ประกอบวิชาชีพรุ่นเล็กและนักวิชาชีพอิสระ
วารสาร ACT จึงนำเนื้อหาความรู้ดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสาร
ประกอบการอบรมความรู้สำหรับสถาปนิกเรื่อง การจัดการ
ทางการเงินและความรู้เกี่ยวกับภาษีสำหรับสถาปนิก จัดโดย
สถาบันสถาปนิกสยาม อันเป็นข้อมูลที่ เรียบเรียงจาก
ประสบการณ์การทำงานวิชาชีพตลอด 20 กว่าปีของตัว
ผู้บรรยายคือคุณอนุชาตั้งศรีวิริยะกุล
ภาษีเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่เราคาดคิดทั้งในฐานะสถาปนิก
และประชาชนทั่วไปเพราะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทยได้กำหนดให้การเสียภาษีอากรเป็น“หน้าที่”ของประชาชน
ซึ่งแปลว่าหากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็จะได้รับโทษตามกฎหมาย
กำหนด หลายครั้งที่ทั้งสถาปนิกที่ปฏิบัติวิชาชีพโดยอิสระ
(Freelance)หรือบริษัทสถาปนิกเองก็ตามถูกเจ้าหน้าที่สรรพกร
“ไล่ต้อน” เอาเบี้ยปรับต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่สถาปนิกหรือบริษัท
สถาปนิกนั้นๆ “ไม่ทราบ” ว่าจำเป็นต้องปฏิบัติ ทั้งที่หลายเรื่อง
ก็เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้“ง่าย”กว่าที่เหล่าสถาปนิกคาดคิด
แต่ก็มีบางกรณีที่เหล่าสถาปนิกซึ่งขาดความรู้ในเรื่องการเงิน
และภาษีถูก“ไล่บี้”ทั้งๆที่ไม่ใช่ประเด็นที่ตนเองปฏิบัติผิดพลาด
แต่ด้วย“ความไม่รู้”จึงไม่กล้าให้คำชี้แจงรวมไปถึงความกังวล
ว่าหากไป“ถกเถียง”กับเจ้าหน้าที่สรรพากรในประเด็นนั้นๆแล้ว
“พลาด” ขึ้นมา ก็อาจจะมีประเด็นอื่นๆ ที่ผิดพลาดตามมาอีก
ก็เป็นได้ ทำให้ตัวสถาปนิกหรือบริษัทสถาปนิกเองเสียสิทธิ์
ในบางเรื่องไป เช่น การรับเงินภาษีคืนเนื่องจากชำระไว้เกิน
เป็นต้น
ซุนหวู่บอกว่า...รู้เรารู้เขาชนะไปครึ่งหนึ่งแล้ว
“เรา” ในที่นี้มิได้หมายความเพียง
เราชื่ออะไรเป็นลูกของใครเรียนจบ
อะไรมา ทำงานอยู่ที่ไหน ชอบฟัง
เพลงอะไรมีงานอดิเรกอะไรชอบไป
เที่ยวไหนฯลฯ
“เรา” ในที่นี้ จะต้องมีความหมายออกไปกว้างขวางกว่า
ปกติ เพราะตอนนี้อยู่ในสภาวะวิกฤติ เราในที่นี้หมายถึง
การอธิบายจุดเด่นจุดด้อยจุดดับจุดอับความสามารถและ
ความเข้าใจในการประกอบวิชาชีพ ปรัชญาการออกแบบ
กฎหมายก่อสร้าง การประเมินราคา ความรู้เรื่องพลังงาน
ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรวดเร็ว
ในการเขียนแบบก่อสร้างอย่างแม่นยำ การเข้าใจในวิธี
กรรมการก่อสร้าง ความสามารถในการทำ Presentation
ความอดทน วินัย การตรงต่อเวลา ความรอบรู้เรื่องภาษา
ความเข้าใจในงานวิศวกรรมโครงสร้างและวิศวกรรมระบบ
และพร้อมที่จะประสานทำงานได้โดยไม่พลาดฯลฯ
“เขา” ในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงเพื่อนร่วมชั้นเรียนเพื่อนทาง
internetเพื่อนร่วมงานเจ้านายลูกน้องsupplierเพื่อนดื่ม
เพื่อนร่วมลงทุนฯลฯเท่านั้น
“เขา” ในที่นี้จึงต้องขยายวงไปถึงความเข้าใจเบื้องลึกของ
ทุกคนรอบตัวเราทั้งใกล้และไกล เพื่อนร่วมงานแต่ละคน
ลูกค้าที่หลากหลาย เจ้านายใจร้ายและเจ้านายใจดี ฯลฯ
เข้าใจถึงความต้องการและวิธีการทำงานของเขาจริงๆ รู้
จุดเด่น จุดด้อย จุดอับ ความชอบ ความเกลียด ฯลฯ ของ
เขาอย่างถ่องแท้...แยกความหมายของคำว่า“เพื่อนและ
คนรู้จัก”ได้เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)